วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ของดี จากเฟชบุ๊ค..เมนูหมูดทอดน้ำปลา....ลองทำดูครับ

อธิบายวิธีการทำหมูทอดน้ำปลาอีกครั้งนะครับ ง่ายมาก
ใครทำไม่ได้ ไปกระโดดแม่น้ำแยงซีเกียงลาตายได้เลย
1.หมูสามชั้นหนึ่งโล
2.น้ำปลาอย่างดี
(เมก้าเชฟ/ทิพรส/ปลาหมึก)
3.พริกไทยขาวป่น
4.แป้งทอดโกกิ / น้ำเย็น
5.ไข่ไก่หนึ่งฟอง
ขั้นตอนนะครับ
1.สำคัญมากคือ ไปซื้อมีดแกะสลักมาจิ้มๆๆๆให้ทั่วหมูเลยครับ จิ้มหนังด้วย หมูจะนิ่ม น้ำหมักจะเข้าเนื้อ สุกเร็วครับ อันนี้เคล็ดลับเลย
2.หมักหมูโดยใส่น้ำปลา ประมาณ 7-8 ช้อนโต๊ะ / พริกไทยป่นตามชอบ / ไข่ไก่ / ผงปรุงรสนิดนึงก็ได้ / แป้งโกกิ ซัก 10-15 ช้อนโต๊ะ (ใส่แป้งโกกิลงไป แล้วโปรยน้ำเย็นบางๆ ค่อยๆนวดจนเข้ากัน ซัก 5 นาที) หมักไว้ครึ่ง ชม ก็พอ
3.ตั้งน้ำมันปาล์มให้ท่วม ใส่น้ำส้มสายชู 1 ช้อนลงในน้ำมัน (หมูจะไม่อมน้ำมัน) และเกลือนิดนึงกันหมูติดกระทะ ตั้งไฟค่อนข้างร้อน
จากนั้นเอาหมูลงทอด โดยทอดทีละข้างให้เกรียม ให้เนื้อหมูเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลตามรูป ....
เสร็จแล้วเอามาพักน้ำมัน หั่น แล้วเอามาแด๊ก จบนะ

ที่มา: 

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "น้ำอัดลม"


น้ำอัดลมมีประโยชน์ ที่ทำให้เราสดชื่นดับกระหายได้ แต่ถ้าดื่มมาก มาก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เขาว่าอย่างนั้นนะครับ แต่ถ้าเราดื่มน้อยๆ คงจะใช้ดีท็อกซ์ลำไส้ได้นะครับ แต่ให้พอประมาณ 
             ถ้าอยากให้มีประโยชน์ใช้แทนน้ำเกลือได้ 
วิธีทำ
 -น้ำอัดลม1.25ลิตรเอาออก150ซีซี 
-เกลือ2ช้อนชา 
-น้ำผึ้งแท้3ช้อนชา 
ผสมรวมลงในขวดเก็บไว้ดื่มแก้อ่อนเพลียได้ครับ  
             
                ถ้าอยากทำให้ไม่ง่วง 
-สไปร์1แก้ว,
-ผงชูรส1ช้อนชา 
คนให้เข้ากันดื่ม รับรองสู้ตายยยยย

หมายเหตุ : เกลือ+น้ำผึ้งจะทำให้กรดที่ทำลายกระเพราะ หายไป


ที่มา จำไม่ได้.

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิธีแก้นิ้วล็อค มือชา!!!

วิธีแก้นิ้วล็อค มือชา!!!

ภูมิปัญญาง่ายๆ แก้นิ้วล็อก และหินปูนที่ข้อกระดูก - Beleive it or not!?! ใครที่เป็นนิ้วล็อก มือชา ถ้าขี้เกียจอ่านก็ช่วยไม่ได้...... มือผมชามานานมาก ประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว ชาระดับไหน...ชาชนิดที่ว่า กระจกบาดไม่รู้ กวาดบ้านได้ไม่เกิน 2 นาที และที่ทำร้ายจิตใจมากก็คือ ผมจับไม้แบดโดยที่ไม่รู้สึกอะไรเลย เล่นไปเพราะความเคยชิน เคยไปปรึกษาหมอเมื่อ 2 ปีที่แล้วหมอบอกว่าเป็นพังผืด และพูดสั้นๆ โดยไม่ต้องแปล...ผ่า! พูดง่าย เข้าใจง่าย แต่ผมทำไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงผมต้องหยุดงานอย่างน้อย 2 อาทิตย์ รวมถึงหน้าที่ที่ต้องทำ คิดแล้ว...ทน...ต่อไปดีกว่า... เมื่อเดือนก่อน เพื่อนบ้านของผมก็เป็นแบบผม และเขาได้ไปผ่ามา หมดไป 18,000 บาท มันเยอะสำหรับผม แต่เขาบอกว่าดีขึ้นมาก ผมก็ตั้งใจว่า ถ้ารวยเมื่อไหร่ ก็คงจะต้องไปผ่ามั่ง แต่...เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์นายเกษตร มีคนบอกสูตรยาแก้นิ้วล็อก พังผืด ผมอ่านแล้วก็ลองทำดู สาเหตุ...ไม่ใช่ยากิน ไม่ใช่ของหายาก ลงทุนน้อยมากกกกกกกกกก ลองเลย...ผลที่ได้...มหัศจรรย์ ฝ่ามือที่ชาดีขึ้นประมาณ 80% จริงๆ ไม่ได้โม้ ที่ว่า 80% เพราะหลังมือยังชาอยู่ ลองกดดูไม่เจ็บ ลองกดที่ง่ามนิ้วระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ไม่เจ็บ เฮ้ย จริงดิ ไม่เชื่อ ลองกำมือซ้ายกับมือขวาดู เฮ้ย...มือซ้ายยังชา แต่มือขวาดีกว่ามือซ้าย ปกติมือขวาเป็นหนักกว่ามือซ้าย ลองคิดดู ความรู้สึกของมือที่กลับคืนมาหาเราอีกครั้ง มันวิเศษขนาดไหน ตกเย็นลองของเลย ดิ่งไปสนามแบด โอ้โฮ มันดีจริงๆ เลย คืนค่ำนี้ก็เลยลองที่หลังมือขวา ผลที่ได้ก็คือ อาการชาดีขึ้นมามาก จนมือขวาเรามีความรู้สึกแล้ว อยากรู้แล้วล่ะดิ ตั้งใจฟังนะ..... - ขนมปัง 1 แผ่น - น้ำส้มสายชู 5% 1 ขวด เขาว่าถ้าจะให้ดีต้อง อสร. (แต่ผมหาไม่ได้ ก็เลยใช้ตราภูเขาทองแทน ) - ผ้าพัน 1 ผืน วิธีทำ เอาน้ำส้มสายชูราดลงไปบนแผ่นขนมปังพอชุ่ม แล้ววางลงตรงจุดที่เป็นพังผืด เอาผ้าพันทับ พันหลวมๆ ไม่ต้องแน่น แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ 1 ชม. แกะออกแล้วก็ล้างมือ...ลองดู ความมหัศจรรย์ก็จะเกิดขึ้นกับมือของท่านเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับผม ผมลองแล้วได้ผลดีเกินคาด ก็เลยนำมาบอกต่อ ไม่มีอันตราย น้ำส้มสายชูเรากินได้ ฉะนั้น ถ้าโดนผิวหนังเรามันย่อมไม่มีผลอะไร อันที่จริงผมจะส่งมาแค่สูตรยาก็กลัวว่าจะไม่กล้าทำกัน ก็เลยร่ายยาวเลย ใครที่เป็นลองดูนะครับ ได้ผลจริงๆ แถมให้อีกหน่อย..น้ำกัดเท้า ก็น้ำส้มสายชูนี่แหละ รินแล้วแช่เลย หายขาด หินปูนที่เกาะตามข้อกระดูก น้ำส้มสายชู 1 ขวด เกลือป่น 1 กิโล ผสมกับน้ำอุ่นแล้วลงไปนอนแช่ 10-25 นาที เขาบอกว่าถ้าจะให้ดีก็ควรออกกำลังกายก่อนสัก 15-20 นาที จะทำให้หินปูนหลุดได้ง่ายขึ้น แต่อันนี้ยังไม่ได้ลอง เพราะไม่มีอ่างอาบน้ำ ลองดูนะครับ ได้ผลแล้วก็ช่วยบอกต่อกันเยอะๆ นะครับ ขอขอบคุณคอลัมน์นายเกษตร และผู้ที่เผยแพร่สูตรนี้ ผมคงตอบแทนบุญคุณท่านได้ก็โดยการเผยแพร่ต่อไป อย่าลืมนะครับ...บอกต่อๆ กันไป

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สมุนไพร ชาตะไคร้ใบเตย แก้โรคเก๊าต์

ชาตะไคร้ใบเตย แก้โรคเก๊าต์ได้ดีจนเหลือเชื่อ!!
คำบอกเล่าจากหมอพื้นบ้านที่เคารพท่านหนึ่งได้กรุณาให้สูตร
"ชาตะไคร้ใบเตย แก้โรคเก๊าต์"
ปรกติจะมียาสำหรับล้างพิษโลหิตแก้โรคเก๊าต์ให้คนไข้ซึ่งจะมีสมุนไพรทั้งคู่อยู่ในยาอยู่แล้ว แต่สูตรนี้เห็นว่ามีประโยชน์และทำได้เองง่ายๆที่บ้าน แนะนำว่าเป็นของสดๆจะได้ผลดีกว่าหลายเท่าครับ
ส่วนประกอบ
1. ตะไคร้ 4-5 ต้น
2. ใบเตย 2-3 ใบ
3. น้ำสะอาด 2 ลิตร
ต้มสมุนไพรจนเดือด พอเดือดลดไฟลง ต้มต่ออีก 15 นาที ห้ามเปิดฝาโดยเด็ดขาด ครบ 15 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น ดื่มแทนน้ำเปล่าติดต่อกัน 1 สัปดาห์ จะล้างกรดยูริคในเลือด สาเหตุของอาการปวดเข่าจากโรคเก๊าต์ได้ดีมากๆแบบไม่ต้องใช้ยาเลยครับ
สูตรนี้ได้รับการยืนยันจากคนไข้เองว่า ได้ผลดีเกินคาด!!

(ผลข้างเคียงคือ ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมงครับ)
ที่มา จำไม่ได้

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสร้างแบบทดสอบแบบอัตนัย


เพิ่มเติมจากบทความที่แล้ว

ข้อสอบแบบอัตนัย เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยคำถามที่มีจำนวนข้อไม่มากนัก ไม่มีคำตอบให้เลือกตอบ  ผู้ตอบจะต้องคิดหาคำตอบเองโดยบูรณาการความรู้และความคิดแล้วแสดงออกเป็นภาษาเขียนอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลตามหลักวิชาของศาสตร์นั้น ๆ
           หลักในการสร้างข้อสอบแบบอัตนัย
                     การสร้างข้อสอบแบบอัตนัยมีหลักการดังนี้
           1.   ขั้นเตรียมหรือขั้นวางแผนการสร้างข้อสอบ  ต้องกระทำสิ่งต่อไปนี้
                 1.1  ตั้งวัตถุประสงค์ของการสร้างข้อสอบอัตนัยว่ามุ่งวัดพฤติกรรมด้านใด
                 1.2  จัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตรหรือตารางวิเคราะห์เนื้อหาวิชา  เพื่อกำหนดว่า ข้อสอบต้องวัดเนื้อหาและพฤติกรรมด้านใด
          2.   ขั้นสร้าง เป็นขั้นของการสร้างข้อสอบตามตารางวิเคราะห์เนื้อหาวิชา โดยอาจมีจำนวนข้อสอบมากกว่าที่กำหนด  ซึ่งจะดำเนินการคัดทิ้งภายหลัง  สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างข้อสอบอัตนัยมีดังนี้
                 2.1  ควรเป็นข้อสอบที่สามารถวัดพฤติกรรมระดับสูงที่ไม่สามารถวัดด้วยข้อสอบชนิดอื่น ๆ
                 2.2  ควรมีกรอบโครงสร้างของข้อคำถามที่แจ่มชัดไม่กำกวม พร้อมทั้งระบุถึงระยะเวลาที่ใช้ในการตอบ
                 2.3   ข้อสอบควรเน้นคำตอบสั้น ๆ เน้นคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด
                 2.4   ไม่ควรสร้างข้อสอบอัตนัยแบบให้เลือกทำเป็นบางข้อ  เพราะอาจเกิดความไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ตอบที่เก่งซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเลือกทำข้อที่ยากหรือมีลักษณะท้าทาย  และผู้ตอบอาจเกิดความลังเลในการเลือก  ทำให้เสียเวลาซึ่งส่งผลต่อคะแนนการสอบ
                 2.5  ควรสร้างข้อสอบให้เหมาะสมกับความสามารถและวุฒิภาวะของผู้ตอบ
                 2.6  ควรสร้างข้อสอบให้มีรูปแบบใหม่ สถานการณ์ใหม่ ซึ่งมีลักษณะท้าทาย    กระตุ้นพัฒนาการของผู้ตอบในด้านความสามารถของสมองในระดับสูง
            3.  ขั้นสร้างคู่มือเฉลยคำตอบและการให้คะแนน เป็นขั้นของการเฉลยคำตอบที่มีโอกาสเป็นไปได้พร้อมทั้งกำหนดกฏเกณฑ์การให้คะแนน
            4.  ขั้นทบทวนและคัดเลือกข้อสอบ  ดังนี้
                  4.1  ตรวจสอบว่าข้อสอบแต่ละข้อที่สร้างวัดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งหรือตามตารางวิเคราะห์เนื้อหาหรือไม่
                  4.2  คาดคะเนว่าข้อสอบแต่ละข้อมีระดับความยากระดับใด  พร้อมทั้งพิจารณาว่ามีโอกาสที่จะมีผู้ตอบถูกหรือไม่  ถ้าคาดว่าจะไม่มีก็ควรตัดทิ้ง หรือปรับปรุงให้ง่ายขึ้น
                   4.3  คัดเลือกข้อสอบตามจำนวนข้อที่ต้องการ พร้อมทั้งพิจารณาว่าจำนวนข้อที่คัดเลือกให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการสอบหรือไม่
             การให้คะแนนข้อสอบแบบอัตนัย
             การตรวจให้คะแนนข้อสอบแบบอัตนัย  มี  2  แบบ  ดังนี้
             1.  การให้คะแนนแบบจุด หรือแบบวิเคราะห์เป็นส่วน ๆ เป็นวิธีการตรวจให้คะแนนโดยการเปรียบเทียบคำตอบกับคำเฉลย
             2.   การให้คะแนนแบบประเมินค่าหรือแบบภาพรวม เป็นการจัดเตรียมเกณฑ์การให้คะแนนอย่างกว้าง ๆ วิธีตรวจให้คะแนนอย่างกว้าง ๆ วิธีตรวจให้คะแนนโดยเปรียบเทียบคำตอบข้อหนึ่งๆ ของทุกคนพร้อมทั้งจัดแบ่งตามคุณภาพออกเป็นกลุ่ม
             ข้อแนะนำในการตรวจให้คะแนน
              การตรวจให้คะแนนของข้อสอบอัตนัยควรปฏิบัติดังนี้
              1. จัดเตรียมคู่มือการตรวจให้คะแนน  สำหรับข้อสอบแบบจำกัดคำตอบต้องมีกฎเกณฑ์ การให้คะแนนที่แน่นอนเด่นชัดเป็นระบบ คือการให้คะแนนแบบจุด ส่วนข้อสอบที่ไม่จำกัดคำตอบต้องมีประเด็นหลักที่จะให้คะแนน
              2.   ในการตรวจให้คะแนนควรปฏิบัติดังนี้
                     2.1 ควรตรวจให้คะแนนข้อหนึ่ง ๆ ของทุกคนให้เสร็จ  เพื่อป้องกันการลำเอียง  และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้คะแนน
                     2.2 ควรตรวจให้คะแนนข้อหนึ่ง ๆ ให้เสร็จ โดยปราศจากการรบกวนหรือ การหยุดพักเป็นเวลานาน ๆ
                     2.3 ควรมีการสุ่มตรวจข้อสอบ  โดยไม่ต้องเรียงลำดับคนแรกไปถึงคนสุดท้ายในทุก ๆ ข้อ  เพื่อป้องกันความลำเอียง
                     2.4  ไม่ควรดูชื่อผู้ตอบ วิธีป้องกันให้ผู้ตอบเขียนชื่อด้านหลังของกระดาษคำตอบแทนที่จะเป็นหน้าแรกของกระดาษคำตอบ
                     2.5 ไม่ควรนำปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของการตอบมาพิจารณา  เช่น ลายมือ  สำนวน  ภาษา การสะกด    แต่ถ้าผู้ตรวจเน้นว่าเป็นสิ่งสำคัญควรแจ้งให้ผู้ตอบทราบล่วงหน้าว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อคะแนน พร้อมทั้งแยกคะแนนส่วนนี้ไว้ต่างหาก
                     2.6 ควรใช้ผู้ตรวจให้คะแนน 2 คน  หรือมากกว่า  เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของการให้คะแนน  ถ้าหากหาผู้ตรวจมากกว่า 1 คนไม่ได้  อาจใช้ผู้ตรวจคนเดียวตรวจซ้ำ 2 ครั้ง  โดยเว้นช่วงเวลาในการตรวจพร้อมทั้งสลับลำดับที่ของข้อสอบ
               3.  จัดทำรายงานผลการให้คะแนนและเกรด  พร้อมทั้งข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดของผู้ตอบ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าตนมีจุดบกพร่องด้านใดเพื่อซ่อมเสริม และเพื่อง่ายแก่การชี้แจงถึงผลการให้คะแนนและการตัดเกรด

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แล้วการสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยล่ะ...


การออกข้อสอบแบบปรนัย

                แบบทดสอบปรนัย เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยคำถาม และได้กำหนดคำตอบไว้ให้เลือก โดยที่คำถามจะกำหนดวิธีการและแนวทางในการตอบไว้อย่างชัดเจนว่า   ต้องการให้ผู้ตอบทำอย่างไร   เช่น    กำหนดให้เขียนเครื่องหมายหรือเติมข้อความหลังจากผู้ตอบได้เลือกแล้ว่าจะเลือกคำตอบใด       หรือจะเขียนข้อความใดเติมลงไป ในการทำแบบทดสอบปรนัย ผู้ตอบมีโอกาสน้อยที่จะเรียบเรียงความรู้ หรือถ้อยคำตามที่ตนเองอยากจะตอบ
                การสร้างแบบทดสอบปรนัย มีหลักอย่างกว้าง ๆ ดังนี้
                1.  เนื่องจากข้อสอบแบบปรนัยแต่ละข้อจะชี้เฉพาะเนื้อหาประเด็นหนึ่ง ๆ การสร้างแบบทดสอบชนิดนี้ จึงควรพยายามสร้างแบบทดสอบที่มีจำนวนข้อมาก ๆ ให้ครอบคลุมเนื้อหาเท่าที่จะทำได้
                2.  คำถามที่ใช้ต้องตรงจุด  สั้น  ชัดเจน  ไม่ซับซ้อน  ไม่ใช้ภาษาที่ยาก  นอกจากจะวัดความสามารถทางถ้อยคำ ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนโดยไม่จำเป็น
                3.  ควรเรียงลำดับคำถามจากง่ายไปหายาก    และมีจำนวนข้อง่าย     ปานกลาง     และยากให้ได้สัดส่วน 1 : 5 : 1 ตามลำดับ ต้องระวังไม่ให้ข้อใดข้อหนึ่งเป็นแนวทางในการตอบข้ออื่น ๆ ตำแหน่งของคำตอบที่ถูกต้องควรจัดเรียงแบบที่ผู้ตอบเดาไม่ได้
4.             ข้อสอบต้องพิมพ์หรือเขียนให้เรียบร้อย มีคำสั่งชัดเจน ถ้าคำสั่งเข้าใจยาก ควรยกตัวอย่างประกอบ
5.             คำถามและคำตอบควรมีระบบ กล่าวคือ ถ้าเป็นคำถามเป็นประโยคคำถาม ควรเขียนให้เป็นประโยค
คำถามที่สมบูรณ์  ถ้าคำถามเป็นแบบต่อความหรือประโยคบอกเล่า   คำตอบก็ควรจะตอบรับกันโดยไม่ซ้ำกับคำในภาคคำถาม และคำตอบควรมีขนาดของถ้อยคำที่สั้น หรือยาวใกล้เคียงกัน
6.             ข้อสอบแบบปรนัยนี้สร้างได้ยาก และต้องใช้เวลามาก ผู้สร้างต้องมีทักษะพอควร จึงทำให้ได้ข้อสอบ
ที่ดี

แบบทดสอบปรนัยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.             ข้อสอบประเภทถูกผิด
2.             ข้อสอบประเภทจับคู่
3.             ข้อสอบประเภทเลือกตอบ
4.             ข้อสอบประเภทเติมให้สมบูรณ์

ตัวอย่าง

3.             ข้อสอบประเภทเลือกตอบ

ข้อสอบประเภทเลือกตอบ     เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยคำตามและกำหนดคำตอบไว้ให้เลือกหลาย ๆ

คำตอบ โดยที่ผู้ตอบจะเลือกคำตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียว

                ข้อสอบประเภทเลือกตอบนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

                1.  ส่วนที่เป็นคำถาม  เป็นข้อความที่เขียนเป็นประโยคคำถาม หรือ ประโยคบอกเล่า หรือ อาจใช้รูปภาพ แผนภาพ หรือสัญลักษณ์ ก็ได้
                2.  ส่วนที่เป็นตัวเลือก  เป็นคำตอบหรือบรรดาตัวคำตอบที่มีไว้ให้เลือกตอบตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเรียกว่า คำตอบ และตัวเลือกที่ไม่ถูกต้องเรียกว่า ตัวลวง ตัวอย่างเช่น
1. สัตว์ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่..............(ส่วนที่เป็นคำถาม)
                ก. ไก่

ส่วนที่เป็นตัวเลือก
 
                ข.  นกเขา           ตัวลวง                   
                ค.  ปลา
                ง.  จิ้งจก           (คำตอบ)


2. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศใด

ตัวลวง
 
                ก.  เหนือ
                ข.  ใต้
                ค.  ตะวันออก (คำตอบ)
                ง.  ตะวันตก    (ตัวลวง)
                วิธีการสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบ
                การสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบ มีขั้นตอนดังนี้
                1.  พิจารณาจากวัตถุประสงค์การเรียนการสอนว่า ต้องการวัดความสามารถในด้านใด เรื่องใด และระดับใด
                2.  เขียนคำถามและตัวเลือกที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องให้ชัดเจน และมั่นใจว่าไม่มีคำตอบอื่นที่เป็นไปได้อีกแล้ว
                3.  ต่อจากนั้น เขียนตัวลวงที่เป็นไปได้ให้ครบตามจำนวนของตัวเลือกที่กำหนดไว้ โดยที่ตัวลวงแต่ละตัวควรจะทำให้ผู้ตอบข้อสอบแยกได้ลำบากว่า คำตอบที่ถูกต้องคือข้อใด
                4.  จัดเรียงตัวลวงและคำถาม ดังนี้
                     ก.  ถ้าตัวเลือกเป็นจำนวน หรือ ปี พ.ศ. ควรเรียงลำดับจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
                    ข.  คำตอบไม่ควรซ้ำข้อกันมาก ๆ       ควรสับเปลี่ยนไปอย่างไม่มีระบบ      เพื่อให้ผู้ตอบไม่สามารถเดาคำตอบได้
                    ค. ถ้าตัวเลือกมีความยาวของข้อความแตกต่างกัน ควรเรียงลำดับตามขนาดความยาวของตัวเลือก
                5.  ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อสอบว่ามีส่วนประกอบที่เป็นคำถาม คำตอบ และตัวลวงครบถ้วนหรือไม่ และพิจารณาว่าข้อสอบนั้นไม่มีความหมายเป็นหลายทางได้
                นอกจากนี้ ในการสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบยังต้องคำนึงถึงข้อปลีกย่อยอีกหลายประการ ดังนี้
                ก.  ส่วนที่เป็นคำถาม
                1.  คำถามแต่ละข้อต้องมีปัญหาเพียงปัญหาเดียว      โดยสร้างเป็นประโยคคำถามหรือประโยคบอกเล่าที่ชัดเจน สั้น แต่มีคำอธิบายเพียงพอที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหา
                2.  คำถามไม่เป็นข้อความที่คัดลอกมาจากหนังสือโดยตรง
                ข.  ส่วนที่เป็นตัวเลือก
                1.  ควรมีตัวเลือก 3-5 ข้อ แต่ที่นิยมกันมักใช้ 4 ตัวเลือก
                2.  จำนวนตัวเลือกในแต่ละข้อคำถาม  ควรจะเท่ากันโดยตลอดทั้งชุด   กล่าวคือ   ถ้ามีตัวเลือก 5 ตัว ก็ควรมีตัวเลือก 5 ตัวทุกข้อคำถาม
                3.  ตัวเลือกแต่ละตัวเลือกในข้อคำถามเดียวกัน ควรมีความสั้นยาวพอ ๆ กัน ถ้าสั้นยาวต่างกัน ก็ควรเรียงตัวเลือกตามลำดับสั้นยาว ให้เป็นระบบเดียวกันโดยตลอดทั้งชุด
                4.  พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ถูกทุกข้อ หรือ ผิดทุกข้อ มาเป็นตัวเลือก
                ข้อเสนอแนะในการใช้ข้อสอบประเภทเลือกตอบ
                1.  ข้อสอบประเภทเลือกตอบ สามารถถามความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
                2.  ใช้ในกรณีที่ผู้เข้าสอบจำนวนมาก เพราะว่าจะช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานในการตรวจ
                3.  ใช้ในกรณีที่ต้องการถามสั้น ๆ โดยลดอัตราการเดาในการตอบลง
                4.  ไม่ควรใช้ข้อสอบประเภทเลือกตอบ ในกรณีที่ใช้ข้อสอบประเภทที่ง่ายกว่านี้ได้ ได้แก่ ถ้าใช้ข้อสอบประเภทถูกผิดวัดสิ่งที่ต้องการได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบประเภทเลือกตอบ
                5.  ในการสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบ ต้องใช้เวลาและทักษะมากจึงจะได้ข้อสอบที่ดี

ข้อสอบแบบ อัตนัย และ ปรนัย ต่างกันอย่างรัย


มาแล้วครับ หลังจากห่างไปนาน..พอดีมีงานเยอะไปหน่อย  และเดือนสิงหาคม 2557 นี้ กศน.นครพนมจะมีการสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครู กศน.ตำบล ผมเลยคิดว่า สิ่งนี้จะมีประโยชน์ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันบ้าง...
ระหว่าข้อสอบแบบ อัตนัย และ ปรนัย หลายคนอาจจะยัง งง งง อยู่ว่า ต่างกันอย่างรัย

ข้อสอบ ข้อเขียน คือการสอบแบบเขียนลงบนกระดาษ จึงเรียกว่าข่้อสอบขอ้เขียน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ สองประเภทคือ

    1. ข้อเขียนแบบปรนัย

   2. ข้อเขียนแบบอัตนัย

สำหรับ ปรนัย แปลว่า วัตถุวิสัย คือการกำหนดคำตอบมาให้ผู้ทดสอบได้เลือกตอบ ซึ่งบางครั้งอาจเรียกทับศัพทืว่า ข้อสอบช้อย(choices) หรือตัวเลือก โดยเมื่อผู้สอบเลือกคำตอบที่ต้องการได้แล้วก็จะ กากบาท หรือ ฝนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ

 ส่วน อัตนัย แปลว่า จิตวิสัย คือการทดสอบโดยให้ผู้ทดสอบสร้างคำตอบเองทั้งหมดจากความคิดของผู้ทดสอบเอง คือมีแต่คำถามมาให้ผู้สอบเขียนตอบเอง

พูดง่ายๆคือ ปรนัย คือ ข้อสอบแบบเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนอัตนัย คือการเขียนบรรยายคำตอบ

ผิดพลาดจุดให้ผู้รู้ขี้แนะด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

ความสำคัญของวันฉัตรมงคล


ความสำคัญ วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่  พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก
พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมพูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมพูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร
พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์
พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจัก หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
พิธีเบื้องปลาย เมือเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมมหาราชวัง
เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสร็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยงข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี
การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำดิว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่อธิบายใหฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัวได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาลสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน
การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน ในขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม
งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
และเนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง
กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน
แหล่งอ้างอิง
1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
2. ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.
3. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.

พระราชประวัติ และพระราชพิธีวันฉัตรมงคล

  วันฉัตรมงคล หมายถึง พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตรสิริราชกกุธภัณฑ์ พระแสงประจำรัชกาล ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกเสวยราชสมบัติตามราชประเพณี (ความหมาย ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) 

พระราชพิธีฉัตรมงคล

          พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยทรงมีพระดำริว่า วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวงที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่องราชูปโภคแต่เดิมมา ควรมี่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ 
          ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิ ตอน ๑ พระราชพิธีฉัตรมงคลซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่ได้บรมราชาภิเษกอีกตอน ๑ พระราชพิธีทักษิณานุปทานและพระราชพิธีฉัตรมงคล
          ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงาน ๓ วัน วันแรกตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม เป็นงานพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย อุทิศถวายแด่พระบรมราชบุรพการี เป็นพิธีสงฆ์ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์แล้วพระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี 

          วันที่ ๔ พฤษภาคม เริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล หัวหน้าพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เย็น วันที่ ๕ พฤษภาคม เป็นวันฉัตรมงคล มีงานเลี้ยงพระและสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตอนเที่ยงทหารบก ทหารเรือยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ ๒๑ นัด ในวันนี้จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานด้วย


ความเป็นมาพระราชพิธีฉัตรมงคล

         
ประวัติความเป็นมา พระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลปัจจุบัน ตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงกระทำพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี จึงถือว่าวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันมงคลสมัย พสกนิกรและรัฐจึงได้ร่วมกันจัดพระราชพิธีขึ้นเรียกว่า รัฐพิธีฉัตรมงคล บ้างก็เรียก พระราชพิธีฉัตรมงคล
          ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อาลักษณ์อ่านคำประกาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์


การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันฉัตรมงคล

พระราชประวัติ

          สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นพระราชธิดาองค์เดียวใน
สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก (สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์) และ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีีพระนามใน สูติบัตรว่า เมย์

          ปี พ.ศ ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา ปี พ.ศ ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา ปี พ.ศ ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติยศเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในปี พ.ศ ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาพระอิสริยศักดิ์  เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ จ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

          หลังจากที่ประสูติได้ไม่นานนัก สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงย้ายไปประทับที่เมื่อเซาท์บอลและบอสตัน ในปลายปีที่ประสูติได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อถึงพระนครสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีทรงพระราชทานตำหนักใหญ่  วังสระปทุม  ให้เป็นที่ประทับ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนกปละพระชนนีไป ประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส

       

       ราชจักรีวงศ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนาเสด็จนิวัติประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงเข้าสอนประจำในคณะอักษรศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งยังทรงเป็นองค์บรรยายพิเศษด้วย ได้ทรงจัดตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมารมพระองค์แรก นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนโครงการสอนการอ่านแก่เด็กเล็กและโครงการจัดส่งเยาวชนไทยไปแข่งขันโอลิมปิควิชาการด้วย

          ทางด้านการสาธารณสุข ทรงเยี่ยมราษฏรพระราชทานสิ่งของช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ป่วย และผู้ยากไร้ทรงอุปถัมภ์ช่วยเหลืองานของมูลนิธิต่าง ๆ เช่น มูลนิธิไตแห่งประเทศไทย มูลนิธิขา  เทียมในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ทุนการกุศลสมเด็จย่า เป็นต้น นอกจากนี้ในเวลาว่างจะเสด็จเยือนต่างประเทศ ทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุทรงพระนิพนธ์หนังสือถึง ๒๕ เรื่อง เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ๑๑ เรื่อง พระนิพนธ์แปล ๓ เรื่อง สารคดีท่องเที่ยว ๑๐ เรื่อง บทความวิชาการ ๑ เรื่อง

          ด้วยพระเกียรติคุณของพระองค์ จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าต่างกรม มีพระนามตามพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ ๒๕๓๘

  เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติรัฐบาลในสมัยนั้นเห็นพ้องต้องกันกราบบังคมทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลซึ่งมีพระมายุเพียง ๘ พรรษา และทรงอยู่ลำดับที่ ๑ ในการสืบราชสมบัติตามกฏมณเฑียรว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ.๒๔๗๖ สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับที่บ้านซึ่งพระราชทานนามว่า "วิลลาวัฒนา" เมืองปุยยี  ซึ่งระหว่างนั้นสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๑ ทรงย้ายไปศึกษาต่อไป เจนีวา ในลักษณะของนักเรียนประจำที่ International School of Geneva ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดได้เป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และที่ ๓ ของประเทศ ในปี พ.ศ.๒๔๘๕  ทรงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ คณะวิทยาศาสตร์สาขาเคมีทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ในระหว่างนั้นทรงเข้าศึกษาหลักสูตรของสังคมศาสตร์ ครุศาสตร์ ในสาขาวิชาการศึกษาวรรณคดีปรัชญาและจิตวิทยา จึงทำให้ทรงมีความสนพระทัยทางด้านนี้
   ในวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล จึงอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเสวยราชย์ เป็นอันดับที่ ๙ แห่ง

ข้อมูลจาก : สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์