วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การสร้างแบบทดสอบแบบอัตนัย


เพิ่มเติมจากบทความที่แล้ว

ข้อสอบแบบอัตนัย เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยคำถามที่มีจำนวนข้อไม่มากนัก ไม่มีคำตอบให้เลือกตอบ  ผู้ตอบจะต้องคิดหาคำตอบเองโดยบูรณาการความรู้และความคิดแล้วแสดงออกเป็นภาษาเขียนอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลตามหลักวิชาของศาสตร์นั้น ๆ
           หลักในการสร้างข้อสอบแบบอัตนัย
                     การสร้างข้อสอบแบบอัตนัยมีหลักการดังนี้
           1.   ขั้นเตรียมหรือขั้นวางแผนการสร้างข้อสอบ  ต้องกระทำสิ่งต่อไปนี้
                 1.1  ตั้งวัตถุประสงค์ของการสร้างข้อสอบอัตนัยว่ามุ่งวัดพฤติกรรมด้านใด
                 1.2  จัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตรหรือตารางวิเคราะห์เนื้อหาวิชา  เพื่อกำหนดว่า ข้อสอบต้องวัดเนื้อหาและพฤติกรรมด้านใด
          2.   ขั้นสร้าง เป็นขั้นของการสร้างข้อสอบตามตารางวิเคราะห์เนื้อหาวิชา โดยอาจมีจำนวนข้อสอบมากกว่าที่กำหนด  ซึ่งจะดำเนินการคัดทิ้งภายหลัง  สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างข้อสอบอัตนัยมีดังนี้
                 2.1  ควรเป็นข้อสอบที่สามารถวัดพฤติกรรมระดับสูงที่ไม่สามารถวัดด้วยข้อสอบชนิดอื่น ๆ
                 2.2  ควรมีกรอบโครงสร้างของข้อคำถามที่แจ่มชัดไม่กำกวม พร้อมทั้งระบุถึงระยะเวลาที่ใช้ในการตอบ
                 2.3   ข้อสอบควรเน้นคำตอบสั้น ๆ เน้นคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด
                 2.4   ไม่ควรสร้างข้อสอบอัตนัยแบบให้เลือกทำเป็นบางข้อ  เพราะอาจเกิดความไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ตอบที่เก่งซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเลือกทำข้อที่ยากหรือมีลักษณะท้าทาย  และผู้ตอบอาจเกิดความลังเลในการเลือก  ทำให้เสียเวลาซึ่งส่งผลต่อคะแนนการสอบ
                 2.5  ควรสร้างข้อสอบให้เหมาะสมกับความสามารถและวุฒิภาวะของผู้ตอบ
                 2.6  ควรสร้างข้อสอบให้มีรูปแบบใหม่ สถานการณ์ใหม่ ซึ่งมีลักษณะท้าทาย    กระตุ้นพัฒนาการของผู้ตอบในด้านความสามารถของสมองในระดับสูง
            3.  ขั้นสร้างคู่มือเฉลยคำตอบและการให้คะแนน เป็นขั้นของการเฉลยคำตอบที่มีโอกาสเป็นไปได้พร้อมทั้งกำหนดกฏเกณฑ์การให้คะแนน
            4.  ขั้นทบทวนและคัดเลือกข้อสอบ  ดังนี้
                  4.1  ตรวจสอบว่าข้อสอบแต่ละข้อที่สร้างวัดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งหรือตามตารางวิเคราะห์เนื้อหาหรือไม่
                  4.2  คาดคะเนว่าข้อสอบแต่ละข้อมีระดับความยากระดับใด  พร้อมทั้งพิจารณาว่ามีโอกาสที่จะมีผู้ตอบถูกหรือไม่  ถ้าคาดว่าจะไม่มีก็ควรตัดทิ้ง หรือปรับปรุงให้ง่ายขึ้น
                   4.3  คัดเลือกข้อสอบตามจำนวนข้อที่ต้องการ พร้อมทั้งพิจารณาว่าจำนวนข้อที่คัดเลือกให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการสอบหรือไม่
             การให้คะแนนข้อสอบแบบอัตนัย
             การตรวจให้คะแนนข้อสอบแบบอัตนัย  มี  2  แบบ  ดังนี้
             1.  การให้คะแนนแบบจุด หรือแบบวิเคราะห์เป็นส่วน ๆ เป็นวิธีการตรวจให้คะแนนโดยการเปรียบเทียบคำตอบกับคำเฉลย
             2.   การให้คะแนนแบบประเมินค่าหรือแบบภาพรวม เป็นการจัดเตรียมเกณฑ์การให้คะแนนอย่างกว้าง ๆ วิธีตรวจให้คะแนนอย่างกว้าง ๆ วิธีตรวจให้คะแนนโดยเปรียบเทียบคำตอบข้อหนึ่งๆ ของทุกคนพร้อมทั้งจัดแบ่งตามคุณภาพออกเป็นกลุ่ม
             ข้อแนะนำในการตรวจให้คะแนน
              การตรวจให้คะแนนของข้อสอบอัตนัยควรปฏิบัติดังนี้
              1. จัดเตรียมคู่มือการตรวจให้คะแนน  สำหรับข้อสอบแบบจำกัดคำตอบต้องมีกฎเกณฑ์ การให้คะแนนที่แน่นอนเด่นชัดเป็นระบบ คือการให้คะแนนแบบจุด ส่วนข้อสอบที่ไม่จำกัดคำตอบต้องมีประเด็นหลักที่จะให้คะแนน
              2.   ในการตรวจให้คะแนนควรปฏิบัติดังนี้
                     2.1 ควรตรวจให้คะแนนข้อหนึ่ง ๆ ของทุกคนให้เสร็จ  เพื่อป้องกันการลำเอียง  และเพิ่มความเชื่อมั่นในการให้คะแนน
                     2.2 ควรตรวจให้คะแนนข้อหนึ่ง ๆ ให้เสร็จ โดยปราศจากการรบกวนหรือ การหยุดพักเป็นเวลานาน ๆ
                     2.3 ควรมีการสุ่มตรวจข้อสอบ  โดยไม่ต้องเรียงลำดับคนแรกไปถึงคนสุดท้ายในทุก ๆ ข้อ  เพื่อป้องกันความลำเอียง
                     2.4  ไม่ควรดูชื่อผู้ตอบ วิธีป้องกันให้ผู้ตอบเขียนชื่อด้านหลังของกระดาษคำตอบแทนที่จะเป็นหน้าแรกของกระดาษคำตอบ
                     2.5 ไม่ควรนำปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของการตอบมาพิจารณา  เช่น ลายมือ  สำนวน  ภาษา การสะกด    แต่ถ้าผู้ตรวจเน้นว่าเป็นสิ่งสำคัญควรแจ้งให้ผู้ตอบทราบล่วงหน้าว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อคะแนน พร้อมทั้งแยกคะแนนส่วนนี้ไว้ต่างหาก
                     2.6 ควรใช้ผู้ตรวจให้คะแนน 2 คน  หรือมากกว่า  เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของการให้คะแนน  ถ้าหากหาผู้ตรวจมากกว่า 1 คนไม่ได้  อาจใช้ผู้ตรวจคนเดียวตรวจซ้ำ 2 ครั้ง  โดยเว้นช่วงเวลาในการตรวจพร้อมทั้งสลับลำดับที่ของข้อสอบ
               3.  จัดทำรายงานผลการให้คะแนนและเกรด  พร้อมทั้งข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดของผู้ตอบ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าตนมีจุดบกพร่องด้านใดเพื่อซ่อมเสริม และเพื่อง่ายแก่การชี้แจงถึงผลการให้คะแนนและการตัดเกรด

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แล้วการสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยล่ะ...


การออกข้อสอบแบบปรนัย

                แบบทดสอบปรนัย เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วยคำถาม และได้กำหนดคำตอบไว้ให้เลือก โดยที่คำถามจะกำหนดวิธีการและแนวทางในการตอบไว้อย่างชัดเจนว่า   ต้องการให้ผู้ตอบทำอย่างไร   เช่น    กำหนดให้เขียนเครื่องหมายหรือเติมข้อความหลังจากผู้ตอบได้เลือกแล้ว่าจะเลือกคำตอบใด       หรือจะเขียนข้อความใดเติมลงไป ในการทำแบบทดสอบปรนัย ผู้ตอบมีโอกาสน้อยที่จะเรียบเรียงความรู้ หรือถ้อยคำตามที่ตนเองอยากจะตอบ
                การสร้างแบบทดสอบปรนัย มีหลักอย่างกว้าง ๆ ดังนี้
                1.  เนื่องจากข้อสอบแบบปรนัยแต่ละข้อจะชี้เฉพาะเนื้อหาประเด็นหนึ่ง ๆ การสร้างแบบทดสอบชนิดนี้ จึงควรพยายามสร้างแบบทดสอบที่มีจำนวนข้อมาก ๆ ให้ครอบคลุมเนื้อหาเท่าที่จะทำได้
                2.  คำถามที่ใช้ต้องตรงจุด  สั้น  ชัดเจน  ไม่ซับซ้อน  ไม่ใช้ภาษาที่ยาก  นอกจากจะวัดความสามารถทางถ้อยคำ ไม่ใช้คำปฏิเสธซ้อนโดยไม่จำเป็น
                3.  ควรเรียงลำดับคำถามจากง่ายไปหายาก    และมีจำนวนข้อง่าย     ปานกลาง     และยากให้ได้สัดส่วน 1 : 5 : 1 ตามลำดับ ต้องระวังไม่ให้ข้อใดข้อหนึ่งเป็นแนวทางในการตอบข้ออื่น ๆ ตำแหน่งของคำตอบที่ถูกต้องควรจัดเรียงแบบที่ผู้ตอบเดาไม่ได้
4.             ข้อสอบต้องพิมพ์หรือเขียนให้เรียบร้อย มีคำสั่งชัดเจน ถ้าคำสั่งเข้าใจยาก ควรยกตัวอย่างประกอบ
5.             คำถามและคำตอบควรมีระบบ กล่าวคือ ถ้าเป็นคำถามเป็นประโยคคำถาม ควรเขียนให้เป็นประโยค
คำถามที่สมบูรณ์  ถ้าคำถามเป็นแบบต่อความหรือประโยคบอกเล่า   คำตอบก็ควรจะตอบรับกันโดยไม่ซ้ำกับคำในภาคคำถาม และคำตอบควรมีขนาดของถ้อยคำที่สั้น หรือยาวใกล้เคียงกัน
6.             ข้อสอบแบบปรนัยนี้สร้างได้ยาก และต้องใช้เวลามาก ผู้สร้างต้องมีทักษะพอควร จึงทำให้ได้ข้อสอบ
ที่ดี

แบบทดสอบปรนัยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.             ข้อสอบประเภทถูกผิด
2.             ข้อสอบประเภทจับคู่
3.             ข้อสอบประเภทเลือกตอบ
4.             ข้อสอบประเภทเติมให้สมบูรณ์

ตัวอย่าง

3.             ข้อสอบประเภทเลือกตอบ

ข้อสอบประเภทเลือกตอบ     เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยคำตามและกำหนดคำตอบไว้ให้เลือกหลาย ๆ

คำตอบ โดยที่ผู้ตอบจะเลือกคำตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียว

                ข้อสอบประเภทเลือกตอบนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

                1.  ส่วนที่เป็นคำถาม  เป็นข้อความที่เขียนเป็นประโยคคำถาม หรือ ประโยคบอกเล่า หรือ อาจใช้รูปภาพ แผนภาพ หรือสัญลักษณ์ ก็ได้
                2.  ส่วนที่เป็นตัวเลือก  เป็นคำตอบหรือบรรดาตัวคำตอบที่มีไว้ให้เลือกตอบตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุดเรียกว่า คำตอบ และตัวเลือกที่ไม่ถูกต้องเรียกว่า ตัวลวง ตัวอย่างเช่น
1. สัตว์ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่..............(ส่วนที่เป็นคำถาม)
                ก. ไก่

ส่วนที่เป็นตัวเลือก
 
                ข.  นกเขา           ตัวลวง                   
                ค.  ปลา
                ง.  จิ้งจก           (คำตอบ)


2. ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศใด

ตัวลวง
 
                ก.  เหนือ
                ข.  ใต้
                ค.  ตะวันออก (คำตอบ)
                ง.  ตะวันตก    (ตัวลวง)
                วิธีการสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบ
                การสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบ มีขั้นตอนดังนี้
                1.  พิจารณาจากวัตถุประสงค์การเรียนการสอนว่า ต้องการวัดความสามารถในด้านใด เรื่องใด และระดับใด
                2.  เขียนคำถามและตัวเลือกที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องให้ชัดเจน และมั่นใจว่าไม่มีคำตอบอื่นที่เป็นไปได้อีกแล้ว
                3.  ต่อจากนั้น เขียนตัวลวงที่เป็นไปได้ให้ครบตามจำนวนของตัวเลือกที่กำหนดไว้ โดยที่ตัวลวงแต่ละตัวควรจะทำให้ผู้ตอบข้อสอบแยกได้ลำบากว่า คำตอบที่ถูกต้องคือข้อใด
                4.  จัดเรียงตัวลวงและคำถาม ดังนี้
                     ก.  ถ้าตัวเลือกเป็นจำนวน หรือ ปี พ.ศ. ควรเรียงลำดับจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
                    ข.  คำตอบไม่ควรซ้ำข้อกันมาก ๆ       ควรสับเปลี่ยนไปอย่างไม่มีระบบ      เพื่อให้ผู้ตอบไม่สามารถเดาคำตอบได้
                    ค. ถ้าตัวเลือกมีความยาวของข้อความแตกต่างกัน ควรเรียงลำดับตามขนาดความยาวของตัวเลือก
                5.  ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อสอบว่ามีส่วนประกอบที่เป็นคำถาม คำตอบ และตัวลวงครบถ้วนหรือไม่ และพิจารณาว่าข้อสอบนั้นไม่มีความหมายเป็นหลายทางได้
                นอกจากนี้ ในการสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบยังต้องคำนึงถึงข้อปลีกย่อยอีกหลายประการ ดังนี้
                ก.  ส่วนที่เป็นคำถาม
                1.  คำถามแต่ละข้อต้องมีปัญหาเพียงปัญหาเดียว      โดยสร้างเป็นประโยคคำถามหรือประโยคบอกเล่าที่ชัดเจน สั้น แต่มีคำอธิบายเพียงพอที่จะช่วยให้เข้าใจปัญหา
                2.  คำถามไม่เป็นข้อความที่คัดลอกมาจากหนังสือโดยตรง
                ข.  ส่วนที่เป็นตัวเลือก
                1.  ควรมีตัวเลือก 3-5 ข้อ แต่ที่นิยมกันมักใช้ 4 ตัวเลือก
                2.  จำนวนตัวเลือกในแต่ละข้อคำถาม  ควรจะเท่ากันโดยตลอดทั้งชุด   กล่าวคือ   ถ้ามีตัวเลือก 5 ตัว ก็ควรมีตัวเลือก 5 ตัวทุกข้อคำถาม
                3.  ตัวเลือกแต่ละตัวเลือกในข้อคำถามเดียวกัน ควรมีความสั้นยาวพอ ๆ กัน ถ้าสั้นยาวต่างกัน ก็ควรเรียงตัวเลือกตามลำดับสั้นยาว ให้เป็นระบบเดียวกันโดยตลอดทั้งชุด
                4.  พยายามหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า ถูกทุกข้อ หรือ ผิดทุกข้อ มาเป็นตัวเลือก
                ข้อเสนอแนะในการใช้ข้อสอบประเภทเลือกตอบ
                1.  ข้อสอบประเภทเลือกตอบ สามารถถามความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
                2.  ใช้ในกรณีที่ผู้เข้าสอบจำนวนมาก เพราะว่าจะช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานในการตรวจ
                3.  ใช้ในกรณีที่ต้องการถามสั้น ๆ โดยลดอัตราการเดาในการตอบลง
                4.  ไม่ควรใช้ข้อสอบประเภทเลือกตอบ ในกรณีที่ใช้ข้อสอบประเภทที่ง่ายกว่านี้ได้ ได้แก่ ถ้าใช้ข้อสอบประเภทถูกผิดวัดสิ่งที่ต้องการได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบประเภทเลือกตอบ
                5.  ในการสร้างข้อสอบประเภทเลือกตอบ ต้องใช้เวลาและทักษะมากจึงจะได้ข้อสอบที่ดี

ข้อสอบแบบ อัตนัย และ ปรนัย ต่างกันอย่างรัย


มาแล้วครับ หลังจากห่างไปนาน..พอดีมีงานเยอะไปหน่อย  และเดือนสิงหาคม 2557 นี้ กศน.นครพนมจะมีการสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครู กศน.ตำบล ผมเลยคิดว่า สิ่งนี้จะมีประโยชน์ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันบ้าง...
ระหว่าข้อสอบแบบ อัตนัย และ ปรนัย หลายคนอาจจะยัง งง งง อยู่ว่า ต่างกันอย่างรัย

ข้อสอบ ข้อเขียน คือการสอบแบบเขียนลงบนกระดาษ จึงเรียกว่าข่้อสอบขอ้เขียน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ สองประเภทคือ

    1. ข้อเขียนแบบปรนัย

   2. ข้อเขียนแบบอัตนัย

สำหรับ ปรนัย แปลว่า วัตถุวิสัย คือการกำหนดคำตอบมาให้ผู้ทดสอบได้เลือกตอบ ซึ่งบางครั้งอาจเรียกทับศัพทืว่า ข้อสอบช้อย(choices) หรือตัวเลือก โดยเมื่อผู้สอบเลือกคำตอบที่ต้องการได้แล้วก็จะ กากบาท หรือ ฝนคำตอบลงในกระดาษคำตอบ

 ส่วน อัตนัย แปลว่า จิตวิสัย คือการทดสอบโดยให้ผู้ทดสอบสร้างคำตอบเองทั้งหมดจากความคิดของผู้ทดสอบเอง คือมีแต่คำถามมาให้ผู้สอบเขียนตอบเอง

พูดง่ายๆคือ ปรนัย คือ ข้อสอบแบบเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนอัตนัย คือการเขียนบรรยายคำตอบ

ผิดพลาดจุดให้ผู้รู้ขี้แนะด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557