วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตามกระแส "มารศาสนา ตามความเชื่อของสาวก"ตถาคต" สืบทอด หรือ ทำลาย"

ผู้ที่บรรลุโสดาบัน หรือพระอรหันต์ จะไม่ประกาศ ตนเพื่อให้คนงมงาย
พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในศาสนาพุทธ สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ
สังโยชน์ (บาลี: samyojana) คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ 
หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร 
หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น 
ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ

อย่าว่าแต่พระอรหันต์ เลยครับ พระโสดาบัน ยังหายากเลยสมัยนี้
                                                 ที่มา : http://pantip.com/topic/30654850
(ก. ความจริงตามแบบของชาวโลกตามธรรมชาติ)
 ภารท์วาชะ ! เมื่อก่อนท่านได้ถึงความเชื่อ (อย่างใดอย่างหนึ่งลงไป
แล้ว) มาบัดนี้ท่านกล่าวมันว่า (เป็นเพียง) สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา. ภารท์วาชะ !
สิ่งทั้งห้านี้ อย่างที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในบัดนี้ เป็นสิ่งที่มีผลเป็น ๒ ฝ่าย. สิ่งทั้ง
ห้านั้น คืออะไรเล่า ? คือ ความเชื่อ (ว่าจริง), ความชอบใจ (ว่าจริง), เรื่องที
ฟังตาม ๆ กันมา (ว่าจริง), ความตริตรึกไปตามเหตุผลที่แวดล้อม (ว่าจริง), และ
ข้อยุตติที่ทนได้ต่อการเพ่งพินิจด้วยความเห็นของเขา (ว่าจริง), ดังนี้ นี่แหละ
คือสิ่งทั้งห้าที่เราเห็น ๆ กันอยู่ในบัดนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลเป็น ๒ ฝ่าย. ภารท์วาชะ !
สิ่งที่เชื่อ กันแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็นของ
ไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี; แม้ สิ่งที่ไม่เชื่อกัน แล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่, แต่ว่า
สิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี. ภารท์วาชะ !
สิ่งที่ชอบใจ กันแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า เป็น
ของไม่จริง เป็นของเท็จ อยู่ก็มี; แม้ สิ่งที่ไม่ชอบใจ กันแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่,
แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี. ภารท์วาชะ !
สิ่งที่ได้ฟังตามกันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่งนั้นเป็นของเปล่า
เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จอยู่ก็มี; แม้ สิ่งที่ไม่ได้ฟังตามกัน มาแล้วเป็นอย่าง
ดี ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี.
ภารท์วาชะ! สิ่งที่ได้ตริตรึก กันมาแล้วเป็นอย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่ง
นั้นกลับเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็นของเท็จอ ยู่ก็มี; แม้ สิ่งที่ไม่ได้
ตริตรึก กันมาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้
ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี. ภารท์วาชะ! สิ่งที่ได้เพ่งพินิจ กันมาแล้วเป็น
อย่างดีนั่นแหละ ก็มีอยู่, แต่ว่าสิ่งนั้นกลับเป็นของเปล่า เป็นของไม่จริง เป็น
ของเท็จ อยู่ก็มี; แม้ สิ่งที่ไม่ได้เพ่งพินิจ กันมาแล้วเป็นอย่างดี ก็มีอยู่, แต่ว่า
สิ่งนั้นกลับเป็นของจริง ของแท้ ของไม่ผิดเป็นอย่างอื่น อยู่ก็มี. ภารท์วาชะ !
วิญญูชนผู้จะตามรักษาไว้ซึ่งความจริง อย่าพึงถึงซึ่งการสันนิษฐานโดยส่วนเดียว
ว่า "อย่างนี้เท่านันจริง, อย่างอื่นเปล่า" ดังนี้

 "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง (สจฺจานุรกฺขณา)
นั้น มีได้ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลจะตามรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้นได้ ด้วยการ
กระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึง วิธีการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง."

(ต่อไปนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามรักษาไว้ซึ่งความจริง ในลักษณะ
ที่ไม่ให้ถือเอาด้วยความยึดมั่นความที่ตนเชื่อ ตามที่ตนชอบใจ ตามที่ตนได้ยินได้ฟังมาเป็นต้น :-)
ที่มา :http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/964/index.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น